ชุมชนคุณธรรม

จาก wikipedia
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา


Moral.png
          เรียนรู้หลักการสร้าง 'ชุมชนคุณธรรม' กับเรื่องดีๆ ที่ชุมชนจะได้รับ

“ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร” คือ หนึ่งในโครงการของกระทรวงวัฒนธรรม ที่สนองยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโมเดลพัฒนาประเทศไทย ๔.๐ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยปัญญา ผ่านกลไกของภาคประชารัฐ ให้คุณธรรมนำการพัฒนา โดยมีเป้าหมายพัฒนาคนในชุมชนให้มีคุณธรรมเป็น “ชุมชนคุณธรรม” เพื่อก้าวสู่ “สังคมคุณธรรม”


Moral2.png

โดยมีหลักง่ายๆ ของการสร้างชุมชนคุณธรรม ๕ ข้อ ได้แก่

๑. น้อมนำสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาชุมชน

๒. ใช้มิติวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนคุณธรรมทุกพื้นที่

๓. ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานแบบองค์รวม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ร่วมกับ “บวร” (บ้าน/วัด/โรงเรียน) และภาคประชารัฐในพื้นที่

๔. ทุกคนในชุมชนคุณธรรมสมัครใจ และมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ โดยระเบิดจากข้างใน ตามความต้องการของชุมชน

๕. ดำเนินการพัฒนาชุมชน โดย

- ประกาศเจตนารมณ์เป็นชุมชนคุณธรรมที่สงบสุข - กำหนดเป้าหมายพัฒนา “ปัญหาที่อยากแก้” “ความดีที่อยากทำ” - จัดทำแผนพัฒนาชุมชน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ยกย่องคนทำความดี - พัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ ขยายผลสู่ชุมชนอื่น พร้อมเปิดชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยคนในชุมชนเป็นเจ้าบ้านที่ดี

ทั้งนี้ หัวใจของ “ชุมชนคุณธรรม” คือ คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รู้จักเรียนรู้และน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม กล่าวคือ

๑. ยึดมั่นหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ

คนในชุมชนมีหลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เมื่อคนในชุมชนปฏิบัติตามหลักศาสนา

อยู่ในกรอบของศีลธรรม และข้อปฏิบัติตามศาสนาที่ตนเคารพนับถือ ปัญหาต่างๆในชุมชนก็จะลดลงหรือหมดไป เกิดสิ่งดีงามในชุมชน

๒. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาคุณภาพชีวิต

การดำเนินชีวิตด้วยความพอประมาณ มีเหตุมีผล เสียสละ อดทน อดออม ขยัน ไม่โลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพากันเอง ช่วยเหลือแบ่งปัน มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เตรียมพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง มีการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เกิดกลุ่มต่างๆขึ้นในชุมชน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มพัฒนาอาชีพ กลุ่มถ่ายทอดภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม กลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน เป็นต้น

๓. สืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม

คนในชุมชนมีความจงรักภักดี เคารพเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความรัก ภาคภูมิใจ ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของท้องถิ่น และนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นสินค้าและบริการ มีผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย Cultural Product of Thailand : CPOT ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่พัก โฮมสเตย์ พร้อมเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่ชุมชน

กระทรวงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนการดำเนินงาน “ชุมชนคุณธรรม” ให้คนในชุมชนเคารพเทิดทูนในสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นรากฐานความมั่นคงที่มีคุณค่าต่อคนไทย