ภาษาวรรณศิลป์

จาก wikipedia
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

1. ภาษาวรรณศิลป์คืออะไร วรรณศิลป์   คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือ ภาษาวรรณศิลป์  หมายถึง  ภาษาที่เป็นศิลปะ ใช้ในการแต่งหนังสือ เป็นความงามทางการประพันธ์โดยเฉพาะ 2.  ความไพเราะตามแบบวรรณศิลป์คืออย่างไร ความไพเราะตามแบบวรรณศิลป์อาจจะจำแนกได้หลายแบบแต่ที่นับว่าสำคัญควรกล่าวถึงคือ  1.  ไพเราะด้วยเสียงสัมผัสของคำ  ได้แก่ 1.1  เสียงพยัญชนะสัมผัส   หมายถึง  ใช้พยัญชนะ เสียงเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน วางเรียงติดกันหรือใกล้เคียงกัน 1.2  เสียงสระสัมผัส  คือ เล่นเสียงสระเสียงเดียวกันสัมผัสกันนอกจากสัมผัสนอกอันเป็นสัมผัสบังคับแล้ว   สัมผัสในต่ละวรรคจะช่วยเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้น 1.3เสียงวรรณยุกต์สัมผัส (การเล่นเสียงวรรณยุกต์)  คือ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ระดับต่างๆ ติดๆกัน 2 . ไพเราะด้วยความหมาย  คือ  มีความหมายซาบซึ้ง 3 . อลังการทางภาษา

  • อลังการ   แปลว่า  การตกแต่งหรือการประดับประดา

หมายถึงการตกแต่งถ้อยคำให้ เหมาะเจาะเพริศพริ้งในแง่ต่าง ๆ เพื่อความไพเราะทางภาษา การประดับประดาดังกล่าวนี้มีหลายแบบ ที่นับว่าสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ในการสร้างภาษาวรรณศิลป์ก็คือ 3.1  การสร้างจินตภาพ   ได้แก่  การใช้ถ้อยคำที่เด่นทั้งเสียง และความหมายในการแต่งข้อความจนทำให้เห็นภาพเด่นชัดในจินตนาการ ทั้งนี้โดยไม่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบ เป็นเครื่องช่วยเหลือแต่ประการใด ตัวอย่างเช่น ก.  โอเวลาป่านฉะนี้ก็สายัณห์  คนทั้งหลายเขาเรียกกิน อาหารบ้างก็เล้าโลมลูกหลานให้  อาบน้ำแล้วหลับนอน  แต่สองบังอร ของพ่อนี้ใครเขาจะปรานีให้นมน้ำ  ก็จะตรากตรำลำบากใจที่ไหน จะเดินได้ด้วยพระบาทเปล่าทั้งไอแดดจะแผดเผาพุพอง จะชอกช้ำคล้ำเป็นหนองลงลามไหล ข.  เสียงนกกรวิกนั้นไซร์    แลมีเสียงอันไพเราะมากถูกเนื้อ พึงใจฝูงสัตว์ทั้งหลาย   แม้ว่าเสือจะเอาเนื้อไปกินก็ดี  ครั้งว่าได้ยินเสียง นกกรวิกนั้นร้อง  ก็ลืมเสีย แลมิอาจเอาเนื้อไปกินได้เลย  แลเม้นว่าเด็กอัน ท่านใส่ตีแลแล่นหนี ครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็บมีรู้สึกที่จักแล่นหนี ได้เลย    แลว่านกทั้งหลายอันที่บินไปบนอากาศครั้งว่าได้ยินเสียงแห่ง นกกรวิกก็บมีรู้สึกที่จะบินไป ปลาในน้ำก็ดี ครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้อง ก็บมิรู้สึกที่ว่าจะว่ายไปได้เลย  แลว่าเสียงแห่งนกกรวิก นั้นมันเพราะหนักหนา 3.2  การสร้างภาพพจน์  (Figvres of Speech)               ได้แก่การใช้ถอยคำบรรยายหรือพรรณนาอย่างแจ่มแจ้ง จนกระทั่งอ่านหรือฟังแล้วและเห็นเป็นภาพเด่นชัด ทั้งนี้โดยอาศัย การเปรียบเทียบแบบต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยในการเปรียบเทียบมีหลาย แบบที่นับว่าใช้กันแพร่หลาย เช่น 3.2.1  การเปรียบเทียบอุปมา   คือ  การนำสิ่งหนึ่งที่รู้จัก กันดีแล้วมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง  เพื่อให้เห็นภาพชัดหรือ เข้าใจดียิ่งขึ้นการเปรียบเทียบแบบนี้มีหลักอยู่ว่าจะต้องมีตัวเชื่อมคือ บุพบทหรือสันธานอยู่เสมอ ได้แก่คำว่า  เหมือน  ดัง  ราว  ราวกับเพียง เพียง  ดัง ปิ้ม   ปิ้ม่า  เฉกเช่น  ฉัน  เฉกเช่น  ประหนึ่ง  ประหนึ่งว่า  ดุจ ดุจดัง  ประดุจ  เสมอ  เสมอด้วย  เสมือน  เสมือนหนึ่ง  ปาน ปิ้มบ่าน  ปานหนึ่ง  พ่าง  พ่างเพียง  เปรียบ  ฯลฯ ก. แล้วว่าอนิจจาความรัก               พึงประจักษ์ดังสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวไปเกลี่ยวไป          ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา ข. โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ               เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ เหมือนดวงดาววาววาวอยู่ไกลกัน ชิดสวรรค์สุดเอื้อมมาเขยชม ค. ยินพระยศเกริกเกรี้ยง                  เพียงพอแผ่นฟากฟ้า หล้าล่มเลื่องชื่อส่อง ง. เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง           ไอศูรย์   สรวงฤา เย็นพระยศปูนเดือน                เด่นฟ้า จ. เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง       นวลปราง รักดุจรักนุชนาง                     พี่ม้วย ซ้องนางเฉกซ้องนาง             คลายคลี่  ล่งฤา โศกพี่โศกสมด้วย                  ดุจไม้นานมี ฉ.   รักกันอยู่ขอบฟ้า                    เขาเขียว เสมออยู่แห่งเดียว                  ร่วมห้อง 3.2.2  การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์ ได้แก่การเปรียบเทียบตรง ๆ  โดยใช้คำกริยา  “เป็น”  “หรือ” คือ นำหน้าคำหรือข้อความที่จะนำมาเปรียบ  เช่น

เขาคือสุนทรภู่ในปัจจุบันนี้ หล่อนเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ดวงตามคือหน้าต่างของหัวใจ

3.2.3  การเปรียบเทียบแบบเกินความจริง  (โวหารอธิพจน์) เป็นการพรรณนาที่เกินขอบเขตของความจริง  อาจจะเป็นไปไม่ได้หรือไม่มี ทางจะเป็นไปได้แต่แม้กระนั้นก็น่าฟังเพราะทำให้เกิดความซาบซึ้งประทับใจ ทั้ง  ๆ  ที่รู้ว่าไม่เป็นจริง  เช่น ก.  การบินไทย                     รักคุณเท่าฟ้า ข.  เรียมรำน้ำเนตรถ้วม           ถึงพรหม พาล่ำสัตว์จ่อมจม               ชีพม้วย พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม         ทบท่าว  ลงแฮ หากอกนิษฐพรหมฉ้วย        พี่ไว้จึงคง 3.2.4  บุคคลรัต   คือ ภาพพจน์ที่เกิดจากการเปรียบเทียบ โดยนำสิ่งที่ไม่มีชีวิตมากกล่าวให้มีกริยาอาการเหมือนคน  เช่น  ทะเลไม่เคยหลับ หยาดน้ำค้างเต้นระบำ  เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น 3.2.5  การใช้ภาษาสัญญลักษณ์   หมายถึง  การนำคำหนึ่งมา ใช้แทนอีกคำหนึ่ง โดยถือว่าคำที่นำมาใช้แทนนั้น  ต้องมีลักษณะเป็นเครื่องหมาย หรือสัญญลักษณ์ที่รู้จักและเข้าใจความหมายกันในอย่างด ีเช่น  ฉัตรเป็น สัญญลักษณ์ของความเป็นใหญ่  หรือดวงใจ เป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งอันเป็น ที่รักอย่างยิ่งดังนี้  เป็นต้น (ก)   ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชย์  เยียววิวาทชิงฉัตร (ข)   โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ      เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ (ค)   น้าวมกุฎมานบ  น้อมพิภพมานอบ มอบบัวบาทวิบุล 3.2.6 สัทพจน์   คือ  การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ  เช่น ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง เรียมครวญ 3.2.7 อัพภาส   คือ  การกร่อนคำซ้ำให้พยางค์หน้าเหลือเพียงสระอะ เช่น ระริก ระริก 3.2.8 ปฏิพากย์ คือ  การใช้คำตรงกันข้าม  เช่น “เสียงน้ำกระซิบสาดปราศจากเสียง   ลมหนาวพัดอ้าวจนหนาวเหน็บเจ็บกระดูก” 3.2.9  คำถามเชิงวาทศิลป์ -  คำถาม  ไม่ต้องการคำตอบ -  ศรีสุวรรณมิใช้อาของเจ้าหรือ -  วันนี้เรียนภาษาไทยไม่ใช่หรือ -  วันนี้เรียนพละมิใช่หรือ