วัฒนธรรมและประเพณี ของชาวไทย

จาก wikipedia
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 13 กันยายน 2562 โดย M150 (คุย | มีส่วนร่วม)

(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | Approved revision (ต่าง) | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
Rice-1807554 960 720.jpg


    วัฒนธรรมและประเพณี ของชาวไทย
    ศิลปกรรม

ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม  แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน  และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต  จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ  ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว  สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน  สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย  และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์

    จิตรกรรม

นิยมเขียนบนผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและบุคคลชั้นสูง  เช่น  โบสถ์  วิหาร  พระที่นั่ง  วัง  เนื้อหาที่ถ่ายทอดมักเป็นเรื่องพุทธประวัติ  ทศชาติชาดก  ไตรภูมิ  วรรณคดีและชีวิตไทย  พงศาวดารต่างๆ

นอกจากนี้เอกลักษณ์ศิลปกรรมแบบไทยที่มีความอ่อนช้อยสวยงามก็ยังปรากฏให้เห็นในงานศิลปกรรมแขนงอื่น  อย่างเช่นประติมากรรมและสถาปัตยกรรมไทยด้วย

ลายไทย  เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทย  ใช้ตกแต่งอาคาร  สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ  เครื่องประดับ  ฯลฯ  แต่ละลวดลายจะมีชื่อเรียกต่างๆ กัน  ซึ่งมักเชื่อมโยงกับธรรมชาติ  เช่น  ลายกระหนก  ลายกระจัง  ลายเครือเถา  เป็นต้น

    ลักษณะบ้านเรือน ของคนไทย

ในสมัยโบราณ  บ้านเรือนของคนไทยมีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว  ใต้ถุนสูง  มีหลังคาแหลมสูงชัน  มีนอกชาน  รูปทรงมีระเบียบ  ไม่ซับซ้อน  และนิยมสร้างบ้านริมแม่น้ำลำคลอง

สาเหตุที่บ้านไทยนิยมปลูก  ใต้ถุนสูง  เพราะช่วยลมผ่านสะดวก  ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายในยามค่ำคืน  นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้านในฤดูฝนอีกด้วย

ประเพณีไทยได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ  ความผูกพันของผู้คนกับพุทะศาสนา  และการดำรงชีวิตที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและธรรมชาติ

    ประเพณีไทยที่สำคัญแยกเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตและประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล

ในสมัยก่อน  ชายไทยที่มีอายุครบ  20  ปี บริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุกสมบท  (อุปสมบท  หมายถึง  การบวชเป็นภิกษุ)  เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอน  และนำมาใช้ในการครองชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าอย่างมีสติและสงบสุขร่มเย็น  คนไทยมีความเชื่อว่า  การที่บุตรชายได้บวชจะทำให้บิดามารดาได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์  และถือเป็นการทดแทนพระคุณบิดามารดาด้วย

เมื่อหญิงชายตกลงใช้ชีวิตคู่กันแล้ว  ก็จะมีธรรมเนียมในการสู่ขอเพื่อแต่งงาน  พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะกำหนดสินสอดทองหมั้น  แล้วจึงหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี  เมื่อได้ฤกษ์ที่เป็นมงคลแล้ว  ฝ่ายชายจะยกขบวนแห่ขันหมากไปที่บ้านฝ่ายหญิง  จากนั้นจึงร่วมกันทำบุญตักบาตร  รดน้ำสังข์และฉลองพิธีมงคลสมรส

ประเพณีสงกรานต์ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย  ตรงกับวันที่  13 – 15เมษายนของทุกปี  เมื่อถึงวันสงกรานต์  คนไทยมักจะทำบุญตักบาตร  สรงน้ำพระ  รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  ขนทรายเข้าวัด  และเล่นน้ำสงกรานต์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและคลายร้อน นอกจากประเทศไทยแล้ว  ประเทศลาว  กัมพูชา  พม่า  ก็มีประเพณีสงกรานต์ด้วยเช่นเดียวกัน

วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  12  หรือราวๆ เดือน พฤศจิกายนของทุกปี   มีขึ้นเพื่อเป็นการขอบคุณพระแม่คงคาหรือเทวีแห่งน้ำ  อีกทั้งเป็นการแสดงความคารวะขออภัยที่ได้ลงอาบหรือปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำในวันลอยกระทง  คนไทยจะนำวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ง่ายๆ  เช่น  หยวกกล้วย  ใบตอง  ดอกไม้  มาประดิษฐ์เป็นกระทงรูปร่างคล้ายดอกบัวเพื่อนำไปลอยในแม่น้ำ  สมัยโบราณมีการละเล่นรื่นเริงสนุกสนาน  เช่น  การละเล่นพื้นเมือง  การเล่นเพลงเรือ  รำวง  ฯลฯ  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการจัดงานรื่นเริงตามวัดวาอารามและตามสถานที่ต่างๆ แทน