ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย " ==การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทา...") |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 43: | แถว 43: | ||
==อ้างอิง == | ==อ้างอิง == | ||
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จาก : เว็ปไซต์ กองทัพเรือ https://www.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/17872 | ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จาก : เว็ปไซต์ กองทัพเรือ https://www.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/17872 | ||
+ | |||
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ https://www.phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=828 | การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ https://www.phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=828 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:30, 22 ตุลาคม 2562
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
- การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทยนับแต่โบราณ นอกจากการเสด็จพระราชดำเนินทางบก ที่เรียกว่า “พยุหยาตราทางสถลมารค” แล้ว
ยังมีการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เรียกว่า “พยุหยาตราทางชลมารค” เป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญยิ่งเช่นกัน การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อกันมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
- ในยามบ้านเมืองปราศจากศึกสงคราม ได้ใช้เรือรบเหล่านี้ตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวนเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
ความสนุกสนาน ความฮึกเหิม และเป็นการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายด้วยเช่นกัน
- ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เช่นการเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี
การต้อนรับทูตานุทูตประเทศต่าง ๆ และประกอบในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
- ตามที่มีประกาศสํานักพระราชวัง เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ประชาชนได้สัมผัสไปแล้ว เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ และประชาชนจะได้สัมผัสขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นพิธีเบื้องปลาย
มีการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี จํานวน ๕๒ ลํา กําลังพลฝีพาย จํานวน ๒,๒๐๐ นาย แบ่งออกเป็น ๕ ริ้ว ๓ สาย ดังนี้
- ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง ๔ ลำมีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙
และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอกเรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองในพร้อมด้วยเรือตำรวจนอกและเรือตำรวจ
- ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่งมีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาตเรือรูปสัตว์ ๘ ลำ
และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
- ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ ๑๔ ลำ
- สำหรับบทเห่เรือได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ จำนวน ๓ องก์ โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ศิลปินแห่งชาติ
ส่วน นาวาเอกณัฏวัฒน์ อร่ามเกลื้อ เป็นผู้เห่เรือ สำหรับเครื่องแต่งกายฝีพายยึดถือรูปแบบเดิมตามโบราณราชประเพณี
- เรือพระราชพิธี จํานวน ๕๒ ลํา ซึ่งเรือทุกลําทำจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่ง ทั้ง ๓ ลํา มีอายุมาก กล่าวคือ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ มีอายุกว่า ๑๐๒ ปี
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ ๑๐๘ ปี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ ๖ มีอายุ ๙๕ ปี ส่วนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีอายุ ๒๓ ปี ส่วนเรืออื่น ๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์แต่ละลํา มีอายุการสร้างนับร้อยปี
- ประชาชนจะได้สัมผัสบรรยากาศแห่งความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมไทยของริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติเพียงแห่งเดียวของโลก
และขอเชิญชวนประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินเป็นเส้นทางเดียวกับที่เคยใช้มาตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ เส้นทางจากท่าวาสุกรี ถึง ท่ามหาราช ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ โดยพร้อมเพรียงกัน
อ้างอิง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จาก : เว็ปไซต์ กองทัพเรือ https://www.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/17872
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ https://www.phralan.in.th/coronation/finalceremoniesdetail.php?id=828