ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณศิลป์"
M150 (คุย | มีส่วนร่วม) |
M150 (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | วรรณศิลป์ | + | '''วรรณศิลป์''' |
วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ว่า “ศิลปะในการแต่งหนังสือ,ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี,หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี | วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ว่า “ศิลปะในการแต่งหนังสือ,ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี,หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี | ||
แถว 7: | แถว 7: | ||
ภาษากวีเพื่อสร้างความงดงามไพเราะแก่บทร้อยแก้วหรือร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน ๓ ด้าน ดังนี้ | ภาษากวีเพื่อสร้างความงดงามไพเราะแก่บทร้อยแก้วหรือร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน ๓ ด้าน ดังนี้ | ||
− | การสรรคำ | + | '''การสรรคำ''' |
การสรรคำ คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำทำได้ดังนี้ | การสรรคำ คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำทำได้ดังนี้ | ||
แถว 23: | แถว 23: | ||
:- การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย | :- การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย | ||
− | การเรียบเรียงคำ | + | '''การเรียบเรียงคำ''' |
การเรียบเรียงคำ คือการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษ หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น | การเรียบเรียงคำ คือการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษ หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น | ||
แถว 37: | แถว 37: | ||
:- เรียงคำวลี ประโยค ที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนานกันไป | :- เรียงคำวลี ประโยค ที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนานกันไป | ||
− | การใช้โวหาร | + | '''การใช้โวหาร''' |
การใช้โวหาร คือการใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพเรียกว่า “ภาพพจน์” ซึ่งมีหลายวิธีที่ควรรู้จัก ได้แก่ | การใช้โวหาร คือการใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพเรียกว่า “ภาพพจน์” ซึ่งมีหลายวิธีที่ควรรู้จัก ได้แก่ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 06:54, 20 กันยายน 2562
วรรณศิลป์
วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ว่า “ศิลปะในการแต่งหนังสือ,ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี,หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
จากความหมายนี้ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ต้องศึกษาตั้งแต่การเลือกชนิดคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานเขียน การรู้จักตกแต่งถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวยอันเป็นลักษณะเฉพาะของภาษากวี และทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์
ภาษากวีเพื่อสร้างความงดงามไพเราะแก่บทร้อยแก้วหรือร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน ๓ ด้าน ดังนี้
การสรรคำ
การสรรคำ คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำทำได้ดังนี้
- - การเลือกคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
- - การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย
- - การเลือกใช้คำพ้องเสียง คำซ้ำ
- - การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียงสัมผัส
- - การเลือกใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
- - การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย
การเรียบเรียงคำ
การเรียบเรียงคำ คือการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษ หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น
- - จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญจากน้อยไปมาก จนถึงสิ่งสำคัญสูงสุดอันเป็นจุดสุดขั้น
- - จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญน้อยไปหามาก แต่กลับหักมุมความคิดผู้อ่านเมื่อถึงจุดสุดขั้น
- - จัดลำดับคำให้เป็นคำถามแต่ไม่ต้องการคำตอบหรือมีคำตอบอยู่ในตัวคำถามแล้ว
- - เรียงถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านแปลความหมายไปในทางตรงข้ามเพื่อเจตนาเยาะเย้ย ถากถาง
- - เรียงคำวลี ประโยค ที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนานกันไป
การใช้โวหาร
การใช้โวหาร คือการใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพเรียกว่า “ภาพพจน์” ซึ่งมีหลายวิธีที่ควรรู้จัก ได้แก่
- - อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยมีคำเปรียบปรากฏอยู่ด้วย คำเปรียบเทียบเหล่านี้ได้แก่ เหมือน เสมือน ดุจ เล่ห์ เฉก ดัง กล เพียง ราว ปูน
- - อุปลักษณ์คือการเน้นความหมายว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งมาก จนเหมือนกับเป็นสิ่งเดียวกัน โดยมีคำเปรียบ เป็น คือ เท่า ปรากฏในข้อความ
- - บุคคลวัต คือ การสมมุติสิ่งต่างๆให้มีกริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
- - อธิพจน์ คือการกล่าวเกินจริง เพื่อเน้นข้อความนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น บางครั้งอาจใช้คำกล่าวน้อยกว่าจริงเรียกว่า อวพจน์
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/aumara_t/sec01p01.html