ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอ่านกวีนิพนธ์"
M150 (คุย | มีส่วนร่วม) |
M150 (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 63: | แถว 63: | ||
:::2.3ฟังเสียงและจังหวะ ความไพเราะของกวีนิพนธ์นั้น จะขึ้นอยู่กับเสียงและจังหวะของคำเป็นสำคัญ | :::2.3ฟังเสียงและจังหวะ ความไพเราะของกวีนิพนธ์นั้น จะขึ้นอยู่กับเสียงและจังหวะของคำเป็นสำคัญ | ||
− | ::1)เสียง เสียงในคำประพันธ์หรือกวีนิพนธ์ คือ ระดับความสูงต่ำ ลีลา และน้ำหนักของการออกเสียงอ่าน | + | ::::1)เสียง เสียงในคำประพันธ์หรือกวีนิพนธ์ คือ ระดับความสูงต่ำ ลีลา และน้ำหนักของการออกเสียงอ่าน |
− | ::2)จังหวะ จังหวะ คือ ท่วงทำนองของกลุ่มคำท่จัดวางเป็นวรรคตอนตามรูปแบบของฉันทลักษณ์ เพื่อเอื้อต่อการออกเสียง ให้เกิดความไพเราะ ความรู้สึก จินตนาการ | + | ::::2)จังหวะ จังหวะ คือ ท่วงทำนองของกลุ่มคำท่จัดวางเป็นวรรคตอนตามรูปแบบของฉันทลักษณ์ เพื่อเอื้อต่อการออกเสียง ให้เกิดความไพเราะ ความรู้สึก จินตนาการ |
:::2.4จินตนาการให้เห็นภาพ จินตภาพในกวีนิพนธ์ ทำให้ผู้อ่านเห็น ได้ยิน สัมผัส รู้รส ได้กลิ่น จินตภาพเป็นภาพที่เกิดขึ้นในใจ มิใช่ภาพเช่นที่เราชมจากภาพถ่าย ผู้อ่านจะเกิดจินตภาพ เห็นภาพต่างๆ ได้ในความรู้สึกนึกคิด มิใช่เป็นการเห็นจากดวงตา | :::2.4จินตนาการให้เห็นภาพ จินตภาพในกวีนิพนธ์ ทำให้ผู้อ่านเห็น ได้ยิน สัมผัส รู้รส ได้กลิ่น จินตภาพเป็นภาพที่เกิดขึ้นในใจ มิใช่ภาพเช่นที่เราชมจากภาพถ่าย ผู้อ่านจะเกิดจินตภาพ เห็นภาพต่างๆ ได้ในความรู้สึกนึกคิด มิใช่เป็นการเห็นจากดวงตา | ||
แถว 74: | แถว 74: | ||
โวหาร เป็นภาษาที่ร้อยเสียงให้เกิดจินตภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในกวีนิพนธ์ จินตภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก อาจใช้คำว่า "ภาพพจน์" คือถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพนั่นเอง โวหารมีหลายแบบในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางลักษณะเท่านั้น คือ อุปลักษณ์ อุปมา และการกล่าวเกินจริง ดังจะยกตัวอย่างดังนี้ | โวหาร เป็นภาษาที่ร้อยเสียงให้เกิดจินตภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในกวีนิพนธ์ จินตภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก อาจใช้คำว่า "ภาพพจน์" คือถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพนั่นเอง โวหารมีหลายแบบในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางลักษณะเท่านั้น คือ อุปลักษณ์ อุปมา และการกล่าวเกินจริง ดังจะยกตัวอย่างดังนี้ | ||
− | ::1)อุปลักษณ์ | + | ::::1)อุปลักษณ์ |
อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบ ของสองสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากันทุกประการ โดยใช้คำ "เป็น" "เท่า" "คือ" ในการเปรียบเทียบเช่น | อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบ ของสองสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากันทุกประการ โดยใช้คำ "เป็น" "เท่า" "คือ" ในการเปรียบเทียบเช่น | ||
แถว 80: | แถว 80: | ||
ความหนาวเย็นเป็นผ้าห่มนอน.......ช่วยพิษร้อนให้วางวาย" | ความหนาวเย็นเป็นผ้าห่มนอน.......ช่วยพิษร้อนให้วางวาย" | ||
− | ::2)อุปมา | + | ::::2)อุปมา |
อุปมา เป็นโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ เช่น | อุปมา เป็นโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ เช่น | ||
แถว 86: | แถว 86: | ||
พุน้ำหนึ่งผุดพุ่งจรุงแรง.......................ดั่งรุ้งแปลงแปลกฟ้าลงมาดิน..." | พุน้ำหนึ่งผุดพุ่งจรุงแรง.......................ดั่งรุ้งแปลงแปลกฟ้าลงมาดิน..." | ||
− | ::3)คำกล่าวเกินจริง | + | ::::3)คำกล่าวเกินจริง |
คำกล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น การอ่านบทกวีนิพนธ์ หากนำเอาข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ไปวัด อาจทำให้ไม่ได้รสของถ้อยคำในการอ่าน ตัวอย่างโวหารหรือข้อความที่กล่าวเกินจริง เช่น | คำกล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น การอ่านบทกวีนิพนธ์ หากนำเอาข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ไปวัด อาจทำให้ไม่ได้รสของถ้อยคำในการอ่าน ตัวอย่างโวหารหรือข้อความที่กล่าวเกินจริง เช่น | ||
แถว 97: | แถว 97: | ||
การอ่านกวีนิพนธ์ควรตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ในกวีนิพนธ์บทนั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สัญลักษณ์ คือ คำที่ใช้แทนสภาพ สิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ไม่ใช่ความหมายตามตัวอักษร เช่น ดอกประดู่ หมายถึง ทหารเรือ เป็นต้น | การอ่านกวีนิพนธ์ควรตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ในกวีนิพนธ์บทนั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สัญลักษณ์ คือ คำที่ใช้แทนสภาพ สิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ไม่ใช่ความหมายตามตัวอักษร เช่น ดอกประดู่ หมายถึง ทหารเรือ เป็นต้น | ||
− | 2.7ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีและรูปแบบฉันทลักษณ์ | + | :::2.7ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีและรูปแบบฉันทลักษณ์ |
− | 1)พื้นความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี | + | ::::1).พื้นความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี |
กวีนิพนธ์บางบทอาจเขียนเรื่องล้อเลียนเหตุการณ์ หรือ ความคิดในวรรณคดีสมัยก่อน หรือนำเอาเรื่องราวมาเขียนในบริบทใหม่ ผู้อ่านจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับ วรรณคดีหลักๆ เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น | กวีนิพนธ์บางบทอาจเขียนเรื่องล้อเลียนเหตุการณ์ หรือ ความคิดในวรรณคดีสมัยก่อน หรือนำเอาเรื่องราวมาเขียนในบริบทใหม่ ผู้อ่านจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับ วรรณคดีหลักๆ เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น | ||
− | 2)รูปแบบฉันทลักษณ์ | + | ::::2).รูปแบบฉันทลักษณ์ |
กวีนิพนธ์จะใช้รูปแบบทางฉันทลักษณ์แตกต่างกันไปตามแบบแผน เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยกับรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละประเภท จะช่วยอ่านแล้วเข้าถึงกวีนิพนธ์ได้ดียิ่งขึ้น | กวีนิพนธ์จะใช้รูปแบบทางฉันทลักษณ์แตกต่างกันไปตามแบบแผน เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยกับรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละประเภท จะช่วยอ่านแล้วเข้าถึงกวีนิพนธ์ได้ดียิ่งขึ้น | ||
− | 3.สรุป | + | ::::3).สรุป |
กวีนิพนธ์เป็นศิลปะทางภาษาที่แสดงความงดงามของภาษาไทยอย่างชัดเจน การอ่านกวีนิพนธ์จึงเป็นการศึกษาและรับรสคุณค่าของภาษาได้ทางหนึ่ง | กวีนิพนธ์เป็นศิลปะทางภาษาที่แสดงความงดงามของภาษาไทยอย่างชัดเจน การอ่านกวีนิพนธ์จึงเป็นการศึกษาและรับรสคุณค่าของภาษาได้ทางหนึ่ง | ||
ดังนั้นในการอ่านกวีนิพนธ์ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของกวีนิพนธ์แต่ละประเภทว่ามีฉันทลักษณ์บังคับอย่างไร เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ นอกจากนี้การอ่านกวีนิพนธ์ ต้องอาศัยทักษะในการตีความซึ่งถ้าผู้อ่านหมั่นขวนขวายหาความรู้รอบตัวอย่างกว้างขวางแล้ว ย่อมช่วยให้การอ่านกวีนิพนธ์นั้นๆ เข้าถึงอรรถรสซาบซึ้งถึงความงามในศิลปะทางภาษาชนิดนี้ได้อย่างดียิ่ง | ดังนั้นในการอ่านกวีนิพนธ์ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของกวีนิพนธ์แต่ละประเภทว่ามีฉันทลักษณ์บังคับอย่างไร เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ นอกจากนี้การอ่านกวีนิพนธ์ ต้องอาศัยทักษะในการตีความซึ่งถ้าผู้อ่านหมั่นขวนขวายหาความรู้รอบตัวอย่างกว้างขวางแล้ว ย่อมช่วยให้การอ่านกวีนิพนธ์นั้นๆ เข้าถึงอรรถรสซาบซึ้งถึงความงามในศิลปะทางภาษาชนิดนี้ได้อย่างดียิ่ง |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:18, 13 กันยายน 2562
กวีนิพนธ์
1.กวีนิพนธ์ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง มักมีคำเรียกแตกต่างกันไปหลายอย่าง เช่น กาพย์กลอน บทกวี หรือกวีนิพนธ์ ส่วนผู้แต่งมักเรียกตัวเองว่า กวี หรือ นักกลอน
- 1.1 ความหมายของกวีนิพนธ์
- กวีนิพนธ์ หมายถึง คำประพันธ์ที่แต่งขึ้นอย่างมีศิลปะ และ มีคุณสมบัติเป็นสื่อกลางของความเข้าใจระหว่างผู้แต่งกับผู้อ่าน คำว่าอย่างมีศิลปะ หมายถึง การสร้างสรรค์ความงามขึ้นด้วยตักอักษร เสียง จังหวะ หรือลำนำ และถ้อยคำ เป็นสัญลักษณ์แทนบางสิ่งบางอย่างอันก่อให้ผู้อ่านนึกภาพได้อย่างสวยงาม
- คำว่า สื่อกลางของความเข้าใจระหว่างผู้แต่งกับผู้อ่าน หมายถึง กวีนิพนธ์นั้น นอกจากจะเป็นตัวแทนของประสบการณ์ของผู้เขียนแล้ว ยังเป็นตัวแทนประสบการณ์ของผู้อ่านอีกด้วย
- 1) ลักษณะสำคัญของกวีนิพนธ์
- 1.ความมีศิลปะหรือความงาม
- 1) ลักษณะสำคัญของกวีนิพนธ์
- 2.กวีนิพนธ์ อาจมีรูปฉันทลักษณ์ตามแบบแผนของไทยแต่เดิม
- 2) องค์ประกอบของกวีนิพนธ์
- 1.รูปแบบ หมายความรวมถึงรูปฉันทลักษณ์ เสียง จังหวะ คำและการเรียงคำ
- 2) องค์ประกอบของกวีนิพนธ์
- 2.เนื้อหา กวีนิพนธ์นั้นมิได้บอก "สาร" หรือส่งสารออกมาตรงๆ แต่เป็นการกระทบใจผู้อ่าน
- 1.2 ประเภทของกวีนิพนธ์
- กวีนิพนธ์อาจจำแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยพิจารณาจากรูปฉันทลักษณ์ เป็นกวีนิพนธ์ ที่มีรูปฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และกวีนิพนธ์ที่มีรูปฉันทลักษณ์อิสระ ซึ่งจะอธิบายโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
- 1) กวีนิพนธ์ที่มีรูปฉันทลักษณ์ตามแบบแผน
ผู้อ่านกวีนิพนธ์ร่วมสมัยควรศึกษาประเภทและลักษณะของร้อยกรองของไทย แต่ดั้งเดิม เพื่อให้สามารถอ่านคำประพันธ์ นั้นๆ ได้ "รส" และถูกต้องมากยิ่งขึ้น ประเภทของกวีนิพนธ์ที่ควรศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้
- 1.1 กาพย์ กาพย์เป็นร้อยกรองซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่ได้กำหนดครุ ลหุ เหมือนคำฉันท์เท่านั้น
- 1.2 กลอน กลอนเป็นร้อยกรองที่บังคับคณะ สัมผัส ไม่บังคับ เอก โท ครุลหุ ไม่จำกัดวรรณยุกต์
- 1.3 โคลง โคลงเป็นร้อยกรองที่มีระเบียบ เรียบเรียงคำเข้าคณะโดยมีกำหนดเอก โท และสัมผัส แต่ไม่ได้ บังคับ ครุ ลหุ
- 2) กวีนิพนธ์ที่มีรูปฉันทลักษณ์อิสระ
นอกจากคำประพันธ์ประเภทมีรูปฉันทลักษณ์ตามแบบแผนแล้ว ยังมีกวีนิพนธ์ที่มีรูปฉันทลักษณ์อิสระคือ กลอนเปล่า กลอนเปล่าเป็นคำประพันธ์ที่นักกลอนเคร่งครัดบางท่านมองว่า "ไร้ฉันทลักษณ์" แต่อันที่จริงกลอนเปล่าเป็นงานที่มีฉันทลักษณ์ในตัวเอง กล่าวคือ ฉันทลักษณ์จะคลี่คลายไปตามเนื้อหา มิใช่การนำเนื้อหามาใส่ในกรอบของฉันทลักษณ์ กลอนเปล่าเป็นที่นิยมเขียนมากในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับมากขึ้นและมีแนวโน้มจะพัฒนาคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้กวีนิพนธ์ที่มีรูปฉันทลักษณ์อิสระยังรวามถึง วรรณรูปซึ่งหมายถึงงานกวีนิพนธ์ที่ใช้คำสร้างเป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพเด็ก บ้าน นักวิาการบางท่านเรียกว่ากวีนิพนธ์รูปธรรม
การอ่านกวีนิพนธ์
2.การอ่านกวีนิพนธ์ การอ่านกวีนิพนธ์นั้น ผู้อ่านต้องเข้าใจภาษาของกวี ลักษณะของกวีนิพนธ์ที่ดีจะต้องกระทบความคิด และ กระตุ้นอารมณ์ด้วยถ้อยคำ และเวลาอันจำกัด แต่ให้ความหมายมาก การอ่านกวีนิพนธ์จำต้องอ่านด้วยความรู้สึกนึกคิด การอ่านกวีนิพนธ์มีแนวทางดังนี้
- 2.1 อ่านจับใจความสำคัญของเรื่องและแก่นเรื่อง
การอ่านกวีนิพนธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- 1)จับใจความสำคัญของเรื่อง
แนวคิดหรือแก่นเรื่องของเรื่องที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์ ผู้แต่งจะไม่บอกความหมายตรงๆ ผู้อ่านต้องพยายามค้นหาและตีความเอง
- 2)เข้าใจความหมายหลายนัย
กวีนิพนธ์บทหนึ่งๆ อาจมีความหมายได้หลายอย่าง เพราะกวีนิพนธ์จะไม่เสนอสารไว้ตรงๆ ผู้อ่านต้องใช้จินตนาการ ความรู้สึกนึกคิด การเชื่อมโยง และการตีความ
- 3)จับน้ำเสียงที่ปรากฏอยู่ในแนวคิดหรือแก่นเรื่องของกวีนิพนธ์
ผู้อ่านต้องจับน้ำเสียงด้วยว่ากวีใช้น้ำเสียงอย่างไร เช่น เยอะเย้ย ถากถาง เห็นอกเห็นใจ
- 2.2ศึกษาความหมายของคำและการร้อยคำ
- 1)ความหมายของคำ
ความหมายของคำหรือศัพท์ที่กวีใช้ อาจพิจารณาความหมายได้ 3 ประเภท ได้แก่
- 1.1)ความหมายโดยอรรถ หมายถึง ความหมายตามอักษร เช่น ลิง หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง
- 1.2)ความหมายโดยนัย หมายถึง ความหมายที่ไม่ตรงกับรูปคำ เช่นถ้า ลิง หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่งเป็นความหมายโดยอรรถ แต่ถ้าลิง หมายถึง ความซุกซน ลักษณะความหมายแบบนี้จะเป็นความหมายโดยนัย
- 1.3)ความหมายตามนัยประหวัด เป็นความหมายที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน เช่น งานวัด อาจหมายถึง สนุกสนาน เป็นต้น
- 2)การร้อยคำ
การร้อยคำหรือการเรียงคำ กวีนิพนธ์มักใช้คำเท่าที่จำเป็นเพื่อส่วนรวม อาจเป็นเพราะร้อยกรอง แต่ละชนิดจะมีการจำกัดจำนวนคำตามฉันทลักษณ์ เช่น กาพย์ยานี 11 กลอนแปด เป็นต้น
- 2.3ฟังเสียงและจังหวะ ความไพเราะของกวีนิพนธ์นั้น จะขึ้นอยู่กับเสียงและจังหวะของคำเป็นสำคัญ
- 1)เสียง เสียงในคำประพันธ์หรือกวีนิพนธ์ คือ ระดับความสูงต่ำ ลีลา และน้ำหนักของการออกเสียงอ่าน
- 2)จังหวะ จังหวะ คือ ท่วงทำนองของกลุ่มคำท่จัดวางเป็นวรรคตอนตามรูปแบบของฉันทลักษณ์ เพื่อเอื้อต่อการออกเสียง ให้เกิดความไพเราะ ความรู้สึก จินตนาการ
- 2.4จินตนาการให้เห็นภาพ จินตภาพในกวีนิพนธ์ ทำให้ผู้อ่านเห็น ได้ยิน สัมผัส รู้รส ได้กลิ่น จินตภาพเป็นภาพที่เกิดขึ้นในใจ มิใช่ภาพเช่นที่เราชมจากภาพถ่าย ผู้อ่านจะเกิดจินตภาพ เห็นภาพต่างๆ ได้ในความรู้สึกนึกคิด มิใช่เป็นการเห็นจากดวงตา
จินตภาพเกิดจากการใช้ คำ ความ เสียง และจังหวะของกวีนิพนธ์
- 2.5ศึกษาโวหาร
โวหาร เป็นภาษาที่ร้อยเสียงให้เกิดจินตภาพ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในกวีนิพนธ์ จินตภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก อาจใช้คำว่า "ภาพพจน์" คือถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพนั่นเอง โวหารมีหลายแบบในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางลักษณะเท่านั้น คือ อุปลักษณ์ อุปมา และการกล่าวเกินจริง ดังจะยกตัวอย่างดังนี้
- 1)อุปลักษณ์
อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบ ของสองสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากันทุกประการ โดยใช้คำ "เป็น" "เท่า" "คือ" ในการเปรียบเทียบเช่น
"อัจกลับแก้วคือแววเดือนฉาย.........หาดทรายขาวราวฟูกบรรจถรณ์ ความหนาวเย็นเป็นผ้าห่มนอน.......ช่วยพิษร้อนให้วางวาย"
- 2)อุปมา
อุปมา เป็นโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ เช่น
"เหมือนสายแก้วแวววับระยับเยื้อง.............ช้อยชำเลืองชมอุษาคราฉายแสง พุน้ำหนึ่งผุดพุ่งจรุงแรง.......................ดั่งรุ้งแปลงแปลกฟ้าลงมาดิน..."
- 3)คำกล่าวเกินจริง
คำกล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น การอ่านบทกวีนิพนธ์ หากนำเอาข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ไปวัด อาจทำให้ไม่ได้รสของถ้อยคำในการอ่าน ตัวอย่างโวหารหรือข้อความที่กล่าวเกินจริง เช่น
เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย
- 2.6 ตีความสัญลักษณ์
การอ่านกวีนิพนธ์ควรตีความสัญลักษณ์ต่างๆ ในกวีนิพนธ์บทนั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สัญลักษณ์ คือ คำที่ใช้แทนสภาพ สิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ไม่ใช่ความหมายตามตัวอักษร เช่น ดอกประดู่ หมายถึง ทหารเรือ เป็นต้น
- 2.7ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีและรูปแบบฉันทลักษณ์
- 1).พื้นความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี
กวีนิพนธ์บางบทอาจเขียนเรื่องล้อเลียนเหตุการณ์ หรือ ความคิดในวรรณคดีสมัยก่อน หรือนำเอาเรื่องราวมาเขียนในบริบทใหม่ ผู้อ่านจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับ วรรณคดีหลักๆ เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น
- 2).รูปแบบฉันทลักษณ์
กวีนิพนธ์จะใช้รูปแบบทางฉันทลักษณ์แตกต่างกันไปตามแบบแผน เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยกับรูปแบบของคำประพันธ์แต่ละประเภท จะช่วยอ่านแล้วเข้าถึงกวีนิพนธ์ได้ดียิ่งขึ้น
- 3).สรุป
กวีนิพนธ์เป็นศิลปะทางภาษาที่แสดงความงดงามของภาษาไทยอย่างชัดเจน การอ่านกวีนิพนธ์จึงเป็นการศึกษาและรับรสคุณค่าของภาษาได้ทางหนึ่ง ดังนั้นในการอ่านกวีนิพนธ์ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของกวีนิพนธ์แต่ละประเภทว่ามีฉันทลักษณ์บังคับอย่างไร เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ นอกจากนี้การอ่านกวีนิพนธ์ ต้องอาศัยทักษะในการตีความซึ่งถ้าผู้อ่านหมั่นขวนขวายหาความรู้รอบตัวอย่างกว้างขวางแล้ว ย่อมช่วยให้การอ่านกวีนิพนธ์นั้นๆ เข้าถึงอรรถรสซาบซึ้งถึงความงามในศิลปะทางภาษาชนิดนี้ได้อย่างดียิ่ง