ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ"

จาก wikipedia
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 1: แถว 1:
 +
 +
 
[[ไฟล์:Foliage-3741244 960 720.jpg|center|520px]]
 
[[ไฟล์:Foliage-3741244 960 720.jpg|center|520px]]
  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:50, 13 กันยายน 2562


Foliage-3741244 960 720.jpg


    วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ

นักปราชญ์ได้จัด วรรณคดี การวาดรูป การปั้นสลัก ดนตรี และการก่อสร้างเข้าไว้ใน พวกประณีตศิลปะ (Fine Arts) ส่วนศิลปะประเภทอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันและมีจุดหมายพ้องกัน คือการสร้างสรรค์ความงามก็อนุโลมเรียกประณีตศิลป์ด้วย เช่น การแสดงสุนทรพจน์ และการฟ้อน รำ ความจริง ความแตกต่างระหว่างศิลปะเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะเห็นได้โดยไม่ยากนัก การวาดรูป และการปั้นสลักเป็นศิลปะประเภทที่เลียนธรรมชาติ คือ เอาธรรมชาติเป็นหุ่น การวาดรูปต่างกับ การถ่ายรูป โดยนัยที่ว่าศิลปินผู้วาดย่อมวาดไปตามอารมณ์และทัศนะของตน บางคนอาจจะวาดต้น ไม้สีน้ำเงินหรือสีแดง บางคนใช้เพียงเส้นในการแสดงออก ส่วนการถ่ายภาพเป็นวิธีลอกแบบธรรมชาติโดยตรง

บุคลิกลักษณะของผู้ถ่ายมีส่วนประกอบน้อยที่สุด ทั้งสองวิธีมีลักษณะที่พ้องกันอยู่ คือ การยึดธรรมชาติ และเลียนแบบจำลองธรรมชาติเป็นหลัก การปั้นสลัก (sculpture) ก็จัดเข้าไว้ใน ศิลปะบางประเภทนี้ แต่ไม่ใช่การจำลองธรรมชาติโดยตรง วัสดุในการสร้าง เช่น สำริด หรือหิน อ่อน นั้นทำให้แตกต่างจากความเป็นจริง มีศิลปะประเภทหนึ่งที่ยากจะบอกว่าเป็นการเลียนธรรม ชาติ คือ ดนตรีและสถาปัตยกรรม ดนตรีที่ไพเราะไม่จำเป็นต้องเป็นดนตรีที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ เลียนธรรมชาติ เช่น เสียงที่หนัก เบา สูงต่ำ แหลม ทุ้ม ทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ดนตรีคือการ เรียงลำดับเสียงให้ไพเราะโดยการลำดับและเลือกเฟ้น


    วรรณคดี

วรรณคดี เป็นศิลปะที่พึงจัดเข้าไว้ในจำพวกที่เลียนธรรมชาติ เช่นเดียวกับการวาดเขียน และการปั้นสลัก สิ่งที่เป็นเนื้อเรื่อง (material) ของวรรณคดีก็เช่นเดียวกับการวาดรูป การปั้น สลัก กล่าวคือ ธรรมชาติ ซึ่งรวมมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติภายนอกคือ ป่า ทะเล ลำเนาไพร เครื่องมือ ที่กวีใช้ก็คือ คำและปากกา ซึ่งเปรียบได้กับสิ่งของช่างสลัก สีและพู่กันของช่างเขียน มนุษย์บังคับ ธรรมชาติให้เกิดเป็นศิลปวัตถุที่คล้อยตามทัศนะของตน