วรรณกรรม วรรณคดี และวรรณศิลป์

จาก wikipedia
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา


Old-books-436498 960 720.jpg


    วรรณกรรม

วรรณกรรม หมายถึง หนังสือทั่วไป งานเขียนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หรือเพื่อมุ่งหมายอย่างใด รวมงานทุกชนิดทั้งที่อยู่ในรูปของลายลักษณ์และเรื่องราวที่เล่าสืบทอด กันมา รวมทั้งครอบคลุมงานแต่งที่ดีที่เรียกว่าวรรณคดีด้วย

    วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นอย่างมีศิลปะ ของการประพันธ์ เป็นหนังสือที่ผู้แต่งมีวิธีเขียนอย่างดี มีเนื้อหาและรูปแบบเหมาะสมกัน มีความ นึกคิดที่แสดงถึงความเฉียบแหลมของผู้แต่ง ก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านเกิด ความเพลิดเพลิน เกิดมโนภาพไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ สมควร แนะนำให้ผู้อื่นอ่านให้แพร่หลาย รักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสังคม มนุษย์และชีวิตโดยทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการเข้าใจวัฒนธรรม

    องค์ประกอบของวรรณคดี และวรรณกรรม

1. รูปแบบ (Form)

2. เนื้อหา (Content)

    วรรณศิลป์

วรรณศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการแต่งบทประพันธ์ หัวใจของงานศิลปะทั่วไป เน้นสุนทรียภาพทางภาษาที่มีความประณีต งดงาม ได้แก่ ความงามของภาษา ความงามในเนื้อ เรื่องอันกลมกลืนกับรูปแบบ และความงามในสาระของข้อคิดเห็นหรือแนวคิดที่แฝงอยู่ในเนื้อ เรื่อง ส่วนความงามที่สำคัญที่สุดของการสร้างงานวรรณกรรมก็คือวิธีแต่ง วรรณศิลป์หรือ วรรณกรรมเป็นสาขาหนึ่งของงานวิจิตรศิลป์ เนื่องจากมีแนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์คล้าย กับศิลปะแขนงอื่น ๆ ที่ต่างกันก็เฉพาะสื่อที่นำมาใช้ซึ่งเกิดจากร้อยเรียงคำในลักษณะ คำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ ตามจินตนาการของกวีหรือศิลปินที่ผู้สร้างงานคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อย กรอง ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ และกลอน เป็นต้น

    ผลงานวรรณศิลป์

ผลงานวรรณศิลป์ เหมือนกับงานศิลปะแนวทางทัศนศิลป์ทั่วไป จากจินตนาการที่ได้รับ ความบันดาลใจจากธรรมชาติ จากศิลปกรรมและได้จากอารมณ์และความรู้สึกของตนเองและระหว่าง มนุษย์ กับมนุษย์ด้วยกันเอง การรับความบันดาลใจจากธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรมนี้เราจะพบใน งานวรรณกรรมอยู่หลายเรื่องหลายตอน เช่น ชมนก ชมไม้ การพรรณนาเหมือนกับภาพเขียนในภาพ ทิวทัศน์ของจิตรกรเขียนภาพป่าเขา ลำเนาไพร การชมเมืองในงานวรรณศิลป์เป็นต้น

    ลักษณะของ วรรณศิลป์

1. อารมณ์สะเทือนใจ (Emotion) แสดงภาพและความรู้สึกได้อย่างชัดเจนและแนบเนียน

2. จินตนาการหรือความนึกคิด (Imagination) แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของตัวละคร

3. การแสดงออก (Expression) แสดงให้เห็นนิสัยใจคอและบุคลิกภาพของตัวละคร

4. ท่วงทำนองหรือท่วงท่าที่แสดงออก (Style) ท่วงท่าที่เป็นส่วนรวม (racial style), ท่วงท่าที่แสดงออกเฉพาะตน (personal style)

5. กลวิธีในการแต่งหรือเทคนิค (Technique)

6. องค์ประกอบ (Composition)

โดยสรุปแล้ว งานแต่งที่มีวรรณศิลป์จนถึงขั้นที่เรียกว่าวรรณคดี จะต้องประกอบ ด้วยลักษณะของวรรณศิลป์ครบถ้วน