เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

จาก wikipedia
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา


Thailand-1385486 960 720.jpg


    ศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์ ได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย โดยผ่าน ทางเขมร อินโดนีเซีย และมลายู อันเป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ซึ่งได้รับการปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีอาบน้ำในพิธีการต่าง ๆ ได้แก่ อาบน้ำในพิธีปลงผมไฟ อาบน้ำ ในพิธีโกนจุก การอาบน้ำในพิธีการแต่งงาน และการอาบน้ำศพ เป็นต้น

    พุทธศาสนา

พุทธศาสนา ได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย โดยผ่านทาง ประเทศ จีน พม่า และลังกา พุทธศาสนาได้เป็นศาสนาประจำชาติไทย ซึ่งก่อให้เกิดประเพณีมากมาย หรือ อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย  ประเพณีที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การก่อพระเจดีย์ทราย การทอดกฐิน และการบวชนาค เป็นต้น

    วัฒนธรรมตะวันตก  

วัฒนธรรมตะวันตก ที่มาของวัฒนธรรมไทยอีกแหล่งหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งได้หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสะดวก รวดเร็วของการติดต่อสื่อสารคมนาคมและสื่อมวลชน วัฒนธรรมตะวันตกที่ได้เผยแพร่เข้ามา ก็ได้แก่ มรรยาทในการสังคม เช่น การสัมผัสมือ (shake hand) การกีฬา เช่น รักบี้ ฟุตบอล และการแต่งกายแบบสากล อันได้แก่ ผูกเน็คไท สวมเสื้อนอก เป็นต้น (อานนท์  อาภาภิรม, 2519 : 105-107)

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย 

    ศาสนา

ศาสนา เป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์ ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ

    พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย

คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี  มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้



    หลักคำสอนของพุทธศาสนา

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ "พระธรรม" ซึ่งพระพุทธองค์ทรง มุ่งสอน สำหรับบุคคลทุกประเภททั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ การสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มุ่งผล ในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี      หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อาจจำแนกออกเป็น  2 ระดับ ดังนี้

    โลกุตรธรรม

โลกุตรธรรมเป็นธรรมชั้นสูงที่พระพุทธเจ้า ทรงสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก คือ "อริยสัจสี่" หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

1)  ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ อันเกิดจาก การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย เช่น การพลัดพรากจากคนรัก ความไม่สมหวัง ความคับแค้น ใจต่าง ๆ การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ที่ทุกชีวิตทุกคนในสังคมต้องประสบ
2)  สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการคือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
- กามตัณหา คือ ความอยากได้ในสิ่งที่น่ารักใคร่
- ภวตัณหา คือ ความอยากมีอยากเห็น
- วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือการดับตัณหาและ ความ ทะเยอทะยานต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป
4)  มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรค 8 หรือมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ได้แก่ ปัญญาชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ทำความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ
    โลกียธรรม

โลกียธรรมเป็นธรรมสำหรับปุถุชนชาวโลก ทั่วไป มีดังนี้

เบญจศีลและเบญจธรรม
เบญจศีล
1.  เว้นจากการฆ่าสัตว์
2.  เว้นจากการลักทรัพย์
3.  เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4.  เว้นจากการพูดเท็จ
5.  เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
เบญจธรรม
1.  มีเมตตากรุณา
2.  เลี้ยงชีพชอบในทางที่ถูกต้อง
3.  มีความสำรวมระวังในกาม
4.  พูดแต่คำสัตย์จริง
5.  มีสติระวังรักษาตนไว้เสมอ
    พรหมวิหาร

พรหมวิหาร คือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือ ผู้มีจิตใจในอันดีงามประดุจดังพระพรหม มีดังนี้ - เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี ให้ผู้อื่น มีความสุข - กรุณา ได้แก่ ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่น ๆ ให้พ้นทุกข์ - มุทิตา ได้แก่ พลอยชื่นชมยินดีเมื่อเห็น ผู้อื่นมี ความ สุข - อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเป็นกลาง วางตนและ ปฏิบัติไปตามความเที่ยง

    สังคหวัตถุ

สังคหวัตถุ คือ การสงเคราะห์หรือ ธรรมแห่งการ ยึด เหนี่ยวบุคคลให้เกิดความสามัคคีมี 4 ประการ คือ - ทาน คือ การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกันด้วยสิ่งของหรือแนะนำให้ความรู้ เป็นต้น - ปิยวาจา ได้แก่ วาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน ชี้แจง แนะนำ  สิ่งที่เป็นประโยชน์หรือชักจูงในสิ่งที่ดีงาม - อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ ได้แก่ การ ช่วยเหลือด้วยแรงกาย บำเพ็ญประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไขปรับปรุงด้านจริยธรรม - สมานัตตตา ความมีเมตตา คือ การวางตน เสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ร่วมแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม

    ฆราวาสธรรม

ฆราวาสธรรม คือ หลักธรรมที่ใช้ปฏิบัติสำหรับ ผู้ครองเรือน มี 4 ประการ ได้แก่ - สัจจะ ความจริงคือ ซื่อตรงต่อกันทั้งการกระทำ วาจา และใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง - ทมะ คือ การรู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน - ขันติ ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจเข้มแข็ง หนักแน่น ไม่วู่วาม อดทนต่อความล่วงล้ำก้ำเกินกัน ลำบากตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน - จาคะ คือ การเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วย เหลือ ซึ่งกันและกัน สามารถสละความสุขส่วนตัวเพื่อคู่ครองได้